0

โรคซึมเศร้าในวัยเรียน อันตราย เช็คตัวเองก่อนเพื่อรับมือ (อ่าน 2 นาที)

09 October 2022

จำนวนคนดู: 169

โรคซึมเศร้าในวัยเรียน อันตราย เช็คตัวเองก่อนเพื่อรับมือ

โรคนี้เริ่มได้ยินบ่อยขึ้นๆเมื่อ 2-3ปีที่ผ่าน และรุนแรงอย่างเห็นได้ชัดในปี 2565 นี้

สังเกตจากข่าว ได้รับรู้แล้วใจหาย

เด็กบางคนเข้ากลับเพื่อนไม่ได้ บางคนถูกบูลลี่ บางคนต้องออกจากโรงเรียน บางคนรุนแรงถึงขั้นทำร้ายตัวเอง จนถึงจบชีวิต โรคนี้มันรุนแรงมากขนาดไหน เกิดจากอะไร จะจัดการอย่างไร อ่านต่อกันเลย

self (4).jpg (99 KB)

หนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ โซเชียลมีเดีย ภัยใกล้ตัวที่เราละเลย การใช้โซเชียลมีเดียผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟนมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะเสพติดได้ (Social Addiction) ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ และยังเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า เครียด สมาธิสั้น และไบโพลาร์ได้

เสพติดโซเชียลมีเดียมากเกินไป ส่งผลกระทบอะไรบ้าง?

* มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง

* เรียกร้องความสนใจ เช่น ต้องการจำนวน Like มากขึ้น จากการโพสต์

* ไม่มี focus ไขว้เขว ทำงานไม่เสร็จสักที เพราะง่วนกับการเล่นโซเชียลทั้งวัน

* ความสัมพันธ์ล้มเหลว เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความหึงหวง ไม่ไว้ใจกัน และสิ้นสุดความสัมพันธ์

* เลียนแบบการใช้คำหยาบคาย คำด่า คำตำหนิต่างๆ

* ด้อยค่าตัวเอง เพราะเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับเพื่อนที่เจอบนโลกออนไลน์

* นอนดึกตื่นสาย ไร้ประสิทธิผลของงาน พองานไม่เสร็จก็เลื่อนไปเรื่อย

 

คนที่เป็นโรคซึมเศร้าเชื่อว่า ถ้าถูกเพื่อน ๆ ปฏิเสธในโลกเฟซบุ๊กจะเป็นอันตรายมากกว่าถูกปฏิเสธในโลกแห่งความจริง การใช้เฟซบุ๊กมากเกินไป อาจบั่นทอนความสุขของตนเอง

 

ดังนั้นวิธีการลดความเสี่ยงต่อการเป็นภาวะนี้คือ การงดหรือหลีกเลี่ยงการใช้เฟซบุ๊ก และปรับเวลาในการใช้งานให้น้อยลง ออกไปใช้ชีวิตในโลกความเป็นจริง ไปเล่น เข้าค่าย อ่านหนังสือ เล่นบอร์ดเกม ทำงานบ้าน ออกกำลังกาย เป็นต้น จะช่วยให้เราใช้เวลากับโลกความจริง บางทีเราจะค้นพบความสามารถแบะความชอบ ความฝันของเราได้ สุขใจไหนจะเท่าสุขที่เป็นความจริง